วันนี้ (Nov 29) ย้อนกลับไป 1 ปี (2014) เป็นวันที่เข้าร่วม Seattle Marathon เป็นครั้งแรก แต่เป็นการวิ่งระยะสั้นมาก (ขอเรียกว่า ระยะเด็กน้อย) คือ 5 กิโลเมตร ซึ่งตอนนั้นยังต้อง วิ่งบ้างเดินบ้าง ก็เหนื่อยแทบขาดใจแล้ว ดังนั้น 1 ปีที่ผ่านมานี้ จึงพูดได้เต็มปากว่า การวิ่งของผมพัฒนาไปไม่น้อยเลยทีเดียว
ปีนี้ช่างเป็นปีทองของการวิ่งจริงๆ อิอิ
งานที่ผมเลือกมา Debut ก็คืองาน Seattle Marathon ในเมือง Seattle รัฐ Washington สาเหตุที่ผมเลือกมา Debut ที่นี้ ก็ง่ายๆ ครับ ผมมาเรียนที่นี่ อิอิ เมืองนี้ อยู่ทางตอนเหนืองของประเทศอเมริกา อยู่ฝั่น West Time Zone ของที่นี้ช้ากว่าไทยประมาณ 13-14 ชั่วโมงเอง (ขึ้นอยู่กับฤดู ถ้าเป็นฤดูหนาวทางอเมริกาจะปรับเวลาให้เร็วกว่าเดิม 1 ชั่วโมง) สารภาพแบบลูกผู้ชายครับ ทำไมผมถึงมาเรียนที่นี่ ก็เพราะ ผมเข้าใจว่ารัฐ Washington หมายถึง Washington DC พึงจะรู้ตอนที่ กพ จองตั๋วเครื่องบินมาให้
ผมนี่งงเลย
(2015 Seattle) เมือง Seattle รัฐ Washington (มุมซ้ายครับ) อย่าไปผิดไป DC นะ 555+ |
ในงานวิ่ง เรานักวิ่งเป็นใหญ่ครับ ฮ่าาาาา (มันก็ควรต้องเป็นเช่นนั้น)
(2015 Seattle) เส้นทางวิ่งของ Seattle Marathon Source: http://www.gannett-cdn.com/ |
จากรูป เพื่อนๆ จะเห็นว่า มีการวิ่งข้ามทะเลสาบไปยังเกาะแห่งหนึ่ง เกาะนั่นชื่อว่า Mercer island เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยบ้านราคาแพงมาก เมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ในเมืองครับ ที่สำคัญ เกาะแห่งนี้ ยังเป็นที่ตั้งของบ้านบุคคลสำคัญของโลกท่านหนึ่ง ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คนที่รวยที่สุดในโลก ลองทายดูสิครับว่าเป็นใคร
ถูกต้องครับ...บิล เกตส์
ว่าด้วยค่าสมัคร
ปวดใจสุดๆ
พูดถึงค่าสมัครวิ่ง มันเป็นอะไรที่ปวดใจมากๆ ค่าสมัครที่ USA มันก็ใช้ค่าเงินสกุล US ครับ ค่าสมัครเฉลี่ยประมาณ 100 ครับ ไม่ใช่บาทนะ เหรียญจร้าาา ลองคูณ 35 บาท ดู ก็ตกราวๆ 3,500 บาท เด็กทุนอย่างผม $100 ก็ไม่ใช่น้อยๆ นะ กพ ให้มาใช้เดือนละ $1,400 ค่าห้องก็ขั้นต่ำ แบบประหยัดสุดๆ ก็ $600-$700 แล้วยิ่งการวิ่งใหญ่ของเมือง หรือของรัฐค่าสมัครจะแพงกว่าปกติครับ เช่น ที่ LA ค่าสมัคร แบบปกติ ก็ เกือยๆ $200 ที่จริงผมก็วางแผนจะไปนะ
แต่ไม่มีเงิน 555+
อย่างไรก็ตาม งานวิ่งต่างๆ มักจะลดราคาค่าวิ่งสำหรับคนที่สมัครเร็ว (ลดไปเยอะเหมือนกันนะครับ) เช่น ถ้าผมสมัคร งานนี้เร็วกว่านี้ 6 เดือน ค่าสมัครผมจะอยู่ที่ประมาณ $80-$90 เท่านั้น สำหรับ คนที่สมัครแล้วกลัวบาดเจ็บ ก็สามารถซื้อประกันเพิ่มในกรณีวมัครแล้วไม่สามารถเข้าร่วมงานได้ครับ ดังนั้น ทางที่ดี ถ้าจะมาวิ่งที่ USA ต้องวางแผนล่วงหน้า และสมัครให้เร็วครับ สำหรับคนที่เพิ่งจะลงวิ่งมาราทอนเป็นครั้งแรก วันนี้เป็นวันที่ตื่นเต้นมากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต (ที่จริงคงมีที่ตื่นเต้นมากกว่ามั้ง) ก็ผมเองก็ไม่ได้กะมาเดินเข้าเส้นชัยหรอกนะ เตรียมตัวมาประมาณ 5 เดือน รวมทั้ง จ่ายค่าสมัครที่แพงแสนแพงซึ่งผมไม่ได้ซื้อประกันกรณีที่ไปวิ่งไม่ได้เอาไว้
ห้ามเจ็บ ห้ามป่วย ห้ามตาย ห้ามสาย
(2015 Seattle) ผมพร้อมแล้ว |
ผมเองเกิดบริเวณแถวๆ เส้นศูนย์สูตร
ผมเก่งกับความร้อน แต่ผมไม่เก่งกับความหนาวเลย แต่เมื่อมาวิ่งที่นี่ (เมืองที่อยู่ทางด้านหนือของประเทศอเมริกา) ดังนั้นอากาศจึงค่อนข้างโคดดดดดเย็น อุณหภูมิประมาณ 4-6 องศาเซลเซียล มันก็ทรมาณนะครับ แม้จะใส่ชุดวิ่งที่เป็นเสื้อแขนยาว และกางเกงขาว รวมทั้งถุงมือและหมวกไหมพรม แต่มันก็ยังคงหนาวจนถึงขั่วหัวใจ ยิ่งเฉพาะเวลาที่ลมพัด อยู่ดีปกติชุดที่ผมใส่ปกติหากไม่วิ่งอย่างน้อยๆ ต้องมีเสื้อ Jacket ที่เป็นเสื้อขนเป็ด แล้วต้องใส่เสื่อไหมพรมข้างไหนอีกชั้นครับ ดังนั้นใครจะมาเที่ยวที่นี่ฤดูหนาว ต้องใส่เสื้อผ้าหนาๆ ครับ
หนาว แต่ก็นะ มันเป็นเมืองที่สวยมาก (Trade off)
จากสถิติที่ผ่านมาของประเทศอเมริกา คนทั่วๆ ไปหันมาสนใจเข้าร่วมวิ่งมาราทอนกันเพิ่มมากขึ้นครับ ซึ่งก็สอดคล้องกับ ผู้ที่เข้าร่วมวิ่งงานนี้ เท่าที่สังเกตุด้วยตา และจากการที่พิธีกรถาม ส่วนใหญ่กว่า 80% เคยวิ่งมาแล้วทั้งนั้น แต่ละคนดูแต่งตัวจริงจังมาก วอร์ม กันแบบเป็นกิจลักษณะ
กลัวที่ไหน
ผมแค่สั่นๆ ครับ แต่ก็อย่างว่าละครับ การวิ่ง คือการแข่งกับตัวเอง เป้าหมายการวิ่งครั้งแรกของผมชัดเจนก็แค่ เข้าเส้นชัยให้ได้ ไม่จำเป็นต้องไปแข่งกับคนอื่นๆ (รอรายการต่อไป ค่อยทำเวลา)(2015 Seattle) นักวิ่งรายอื่นๆ |
ใจจริงๆ อยากวิ่งทำความเร็วนะ แต่ผมไม่ไหวจริงๆ ตอนซ้อมลองแล้ว ผมว่าช่วงนรกที่สุดคือช่วงที่ประมาณ 30 km มันวิ่งก้าวขาก็ไม่ออก หากวิ่งทำความเร็วมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น กลยุทธการวิ่งของผมที่ผมเตรียมมาก็คือ 6 7 8 9 หรือ 6 min/ km ในช่วง 10 กิโลเมตรแรก 7 min/km ในช่วง 10 กิโลเมตรต่อมา 8 min/km ในช่วง 20 ถึง 30 กิโลเมตร จากนั้น ผมคิดว่าผมคงต้องเดิน ด้วยความเร็วประมาณ 9 min/km ในช่วงที่เหลือ
มีหลายๆ คนถามว่าวิ่งความเร็วเท่าไหร่ถึงจะดี ถ้าเอา Boston Qualifier มาเป็นเกณฑ์ คุณต้องวิ่งให้ได้ระยะมาราทอนภายในระยะเวลา 3 ชั่วโมง 5 นาที ครับ หากต้องการที่จะผ่านเกณฑ์ หรือถ้าเป้าหมายคุณต้องการเป็นแชมป๋ รายการปกติ รายการใดรายการหนึ่ง (ที่ไม่ใช่ระกับโลก) ก็ประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง หรือ ถ้าต้องการทำลายสถิติโลก ก็ต้องให้ได้ประมาณ 2 ชั่วโมงเองครับ
แหะ แหะ แหะ
และแล้ว เมื่อเสียงปล่อยตัวดังขึ้น ผมไล่กวด Pacer 3 ชั่วโมง 30 นาที ทันที (ทำเก๋า)
(2015 Seattle)
Source: http://isc01.gradimages.com/
|
เห้ย วิว!!
ช่วงที่ผมชอบที่สุดในการวิ่งก็คงจะเป็นการได้วิ่งขึ้น Floating bridge สะพานนี้เป็นส่วนหนึ่งของถนน I-90 เพื่อเชื่อมไปยังเกาะ Mercer island
ต้องบอกเลยครับว่า วิวสวยมาก หากมองที่ระดับสะพานจะเห็นน้ำในทะเลสาบระดับเดียวกับสะพานเลย เหมือนกับว่าเราวิ่งอยู่บนผิวน้ำก็ไม่ปาน
(2015 Seattle) เราวิ่งข้าม ถนนนี้แหละครับ (I-90) แต่กล้อมผมถ่ายไม่สวย เลยขอใช้รูปนี้แทน |
สะพานนี้ ก็เป็นจุดแรกที่ผมเริ่มพัก 555+
แน่นอนครับ วิ่งด้วยความเร็วขนาดนั้น สำหรับนักวิ่งที่เพิ่งจะลงรายการวิ่งมาราทอนครั้งแรก ยังไงก็หมก ดังนั้น 10 กิโลเมตรต่อมา ผมจึงฉลอความเร็วลดลง จนจบระยะ Half marathon ด้วย ระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 10 นาที ซึ่งก่อนเข้าเส้นชัย Pacer 4 ชม ก็เพิ่งจะวิ่งแซงผมไป ตอน 10 นาที ที่แล้ว(2015 Seattle) Source: http://cdn.tegna-tv.com/ |
เมื่อวิ่งผ่านช่วงสะพานออกมา ก็จะเป็นช่วงวิ่งเรียบทะเลสาบ บริเวณนี้หมอกลงค่อนข้างหนา รวมทั้งมีลมกรรโชกค่อนข้างแรง อากาศที่ค่อนข้างหนาว ยิ่งวิ่งริมทะเลสาบ เห็นหมอกลอยเหนือน้ำเลยครับ ลมพัดที่ก็ยิ่งหนาว
(2015 Seattle) หมอกลง |
สำหรับงานวิ่งงานแรกนี้ ผมได้มีโอกาสใช้รองเท้าวิ่งคู่ใหม่ Asics Nimbus 17 ที่ผมเพิ่งจะซื้อมาก่อนวันวิ่งเพียงแค่ 1 วันเท่านั้น เนื่องจากวันก่อนวันวิ่งเป็นวันที่เรียกว่า Black Friday เป็นวันที่สินค้าถูกที่สุด ปกติราคา Asics Nimbus 17 จะอยู่ที่เกือบๆ $130 + Tax แต่ ผมซื้อมาในราคาแค่ $80 รวมทุกอย่างแล้ว
ใส่รองเท้าวิ่งที่ไม่เคยใส่ไปวิ่งงานใหญ่ ห้ามทำตามผมนะครับ
รองเท้าคู่ใหม่ของผมก็เริ่มสำแดงฤทธิ์ เอาจริงๆ ก็โทษรองเท้าไม่ได้หรอก แน่นอนว่าเท้าผมย่อยยังไม่ชินกับรองเท้าคู่นี้
วิ่งไปเจ็บฝ่าเท้าไป
(2015 Seattle) กัดฟันสู่ 10 กิโลเมตร สุดท้าย
การวิ่งย่อมมีมิตรภาพ เพื่อนๆ นักวิ่งเมื่อเห็นเราวิ่งแปลกๆ ก็มักถามสารทุกสุขดิบ หรือมีคนที่วิ่งแล้วเจ็บ คนอื่นๆ ก็มาถาม มาดูแล ตลอด
|
หลังจากผ่านระยะ Half Marathon ในช่วงนี้ต้องวิ่งบ้างพักบ้างแล้ว จนมาถึงจุดเตือนระยะทาง 30 กิโลเมตร ซึ่งเขาว่าเป็นช่วงการวิ่งที่โหดที่สุด พลังก็กำลังจะหมด
แมร่งคนถือป้าย Pacer 4.30 ก็วิ่งตามหลังมาแต่ไกล
ผ่าน 30 กิโลเมตรมาแล้ว โดยผมยังวิ่งอยู่ได้เท่ากับว่า ผมทำสำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้แล้ว ถ้าเดินอีก 10 กิโลเมตร หรือใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ผมก็จะยังคงเข้าเส้นชัยทันตามที่กำหนดที่ 6 ชั่วโมงยอมรับแบบแมนๆ เลยครับว่า วินาทีนั้น ต้องเดินแล้ว ถ้าคลานได้คลานไปแล้ว คือวิ่งบนถนนมันต่างจากวิ่งในยิมที่อุณหภูมิค่อนข้างคงที่ อากาศไม่หนาวไม่ร้อน และที่สำคัญพื้นไม่สูงบ้างต่ำบ้าง ณ จุดที่ผมเริ่มเดินนี้ ผมเริ่มเห็นคนจำนวนมาก แซงผมไปเรื่อยๆ
ช่างเขาเถอะ!!!
โค้งสุดท้ายสู่เส้นชัย
5 กิโลเมตร ที่เคยคิดว่าหมู มันไม่หมูนะ
ผมเริ่มหยุดยืนบาง ขามันก้าวไม่ออกจริงๆ ครับ แอบคิดจะยอมแพ้เหมือนกัน มันทรมาณจริงๆ ณ จุดนั้นในที่สุด ก็เข้าสู่ช่วง 5 กิโลเมตรสุดท้าย มันคือความมหาโหด ขาที่หมดแรงจนตะคิวจะขึ้น เจอเนินสูงอีกครั้งสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัย
ถามว่าเนินสูงสูงแค่ไหน Seattle เป็นเมืองที่อยู่ฝั่งตะวันตกของประเทศอเมริกา ถ้าเรียนภูมิศาสตร์มาจะพบว่าทางนี้เป็นภูเขาหินใหม่ ซึ่งภูเขาหินใหม่ยังไม่ผ่านการกัดกร่อนของดิน มันจึงสูงกว่าภูเขาหินเก่า
วิชาการมาเต็ม แต่ไม่เกี่ยว
(2015 Seattle) นักวิ่งคนอื่นๆ ผมไม่รู้จัก |
(2015 Seattle) ใกล้เส้นชัย |
ทำได้ ทำได้ ทำได้ว่อย มันก็สะใจตัวเองนะที่เราทำได้
หน้าตาของเหรียญ เป็นแบบนี้ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น