เป้าหมายที่ดีต้อง SMART
เนื่องจากผมจบสายเศรษฐศาสตร์ ผมจึงมีวิธีการง่ายๆ ที่ใช้ตั้งเป้าหมายของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถประยุกต์เข้ากับการวิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังครับ วิธีการดังกล่าวเรียกว่า SMART หรือ S.M.A.R.T.
S: Specific เป้าหมายต้องมีความชัดเจน
การตั้งเป้าหมายที่กว้าง และมีขอบเขตที่ไม่ชัดเจน จะยากในการปฎิบัติตามและประเมินผล เนื่องจากในที่สุดแล้ว ตั้งเป้าหมายก็เหมือนไม่ได้ตั้ง สุดท้ายแม้แต่คนที่ตั้งเป้ามายเองก็ไม่รู้ว่าต้องทำอะไร เช่น การตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเป็นนักกีฬาที่เก่งที่สุดในโลก มันกว้างมากจนเราเริ่มต้นปฎิบัติตามไม่ถูก
เป้าหมายของของผม คือต้องเข้าเส้นชัยของการวิ่งมาราทอน ระยะทาง 41.195 กิโลเมตร ในงาน Seattle Marathon ภายในระยะเวลา 4 ชั่วโมง ให้ได้ หากถึงวันนั้น ผมสามารถได้ตามเป้า ก็สามารถประเมินตัวเองได้ว่าสำเร็จ :)
M: Measurable เป้าหมายต้องวัดได้
ไม่มีอะไรที่วัดง่ายเท่าตัวเลข ยกตัวอย่างเช่น "ดี" มันยากต่อการตีความ หรือวัดว่าเราทำ "ดี" แล้วหรือไม่ หากเปลี่ยนคำว่าดีเป็นตัวเลข เช่น วิ่งได้ "ดี" หมายถึงวิ่งได้ความเร็ว 5 นาที ต่อ ชั่วโมง หากเราทำได้ตามเป้าแปลว่าเราทำได้สำเร็จ หากไม่ได้ เราก็สามารถปรับปรุงตัวเองได้
จากที่ได้กล่าวมาแล้ว เป้าหมายของผม คือวิ่งระยะมาราทอน ในเวลา 4 ชั่วโมง หรือต้องวิ่งด้วยความเร็ว ประมาณ 6 นาที ต่อ กิโลเมตร หากทำได้ตามนี้ มันคือ "ดี" ทุกครั้งที่วิ่ง ผมจะต้องตั้ง Application ให้เตือนหากวิ่งช้ากว่าเป้าหมาย จากนั้น ผมจะค่อยๆ เพิ่มระยะทางขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ระยะทาง 41.15 กิโลเมตร
A: Assignable ใครต้องทำอะไร
การทำโครงการหนึ่งๆ ต้องมีผู้ร่วมงานหลายคน การกำหนดขอบเขตของงาน แต่ละงานของแต่ละคนต้องมีความชัดเจน แต่สำหรับการวิ่ง เราวิ่งคนเดียว อาจไม่ต้องทำงานเป็นทีม
สำหรับตัวของผมเอง ผมก็วิ่งคนเดียว แต่บางครับก็ขอให้แฟนช่วยปั่นจักรยานตาม แน่นอนหน้าที่ของแฟน จึงเปรียบเสมือนผู้ควบคุม หากผมทำไม่ได้ ตามเป้าหมาย ก็ถูกด่าตามระเบียบ
R: Realistic เป้าหมายต้องมีโอกาศทำได้จริง
มีคนบอกว่า "ตั้งเป้าหมายต้องตั้งให้ใหญ่เข้าไว้ ถ้าไม่ได้เดือน อย่างน้อยๆ ก็ความดาวได้" ผมเห็นด้วยบางส่วนครับ การตั้งเป้าหมายที่ไม่มีโอกาสสำเร็จ จะท้อ และในที่สุดจะยอมแพ้ ทางที่ดีที่สุดตั้งให้ใหญ่เพียงพอให้เกิดความท้าทายดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การตั้งเป้าหมายที่ง่ายเกินไป จะทำให้ไม่เกิดการพัฒนา
สำหรับคนที่เริ่มวิ่งตอนทำงาน เช่นเดียวกับผม การตั้งเป้าหมาย อน่างเช่น เป็นนักวิ่งทีมชาติ หรือวิ่งเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิก มันอาจจใหญ่เกินไป การตั้งเป้าหมายขนาดนั้น อาจจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ และ ท้อ จนในที่สุดต้องเลิกวิ่ง
T: Time ต้องมีกำหนดเวลาที่แน่นอน
หลายๆ คนบอกว่าจะวิ่งมาราทอนให้ได้ แน่นอนครับถ้าเพื่อนๆ ฝึกไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่ง ซึ่งไม่รู้จะกี่ปี ก็คงจะถึงแน่ๆ การตั้งเป้าหมายแบบนี้ทำให้เราใช้เวลาอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช้ความสามารถของตัวเองอย่าวเต็มที่
ผมตั้งเป้ามายนี้เมื่อสินเดือนมิถุนายน จากวันแรกที่เริ่มวิ่งจนถึงวันที่เข้าแข่งขัน ประมาณ 5 เดือน ดังนั้น 5 เดือน จึงเป็นกรอบระยะเวลาการฝึกซ้อม
Source: https://images.unsplash.com/photo-1421091242698-34f6ad7fc088?q=80&fm=jpg&s=dcb0f2523ce54aa3df780f198eba0920 |