วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

Mini review ASICS NIMBUS 17

Mini review Asics Nimbus 17
“Item ของ Knight สาย vit”
(2016 Seattle) Asics Nimbus 17
คุยกันนิดหนึ่งก่อน
ก่อนอื่น Review นี้ทำโดยผมเอง ซึ่งผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านรองเท้านะครับ และนี่ก็เป็นรีวิวรองเท้าครั้งแรกของผม ผิดถูกอย่างไรก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ อย่างไรก็ตาม ถ้าเพื่อนๆ เห็นต่าง หรือ เห็นว่าการรีวิวของผมยังขาดความสวยงามอะไรไป ก็ บอกผมได้นะครับ ผมน้อมรับไปปรับปรุงในครั้งหน้า และครั้งต่อๆ ไป


สำหรับโครงสร้างเท้า ผมเป็นคนเท้าปกติ Normal Arch ข้อเท้าเป็นแบบ Stability เวลาวิ่งเน้นลงน้ำหนักที่ผ่าเท้าด้านนอกเป็นหลัก (สังเกตุที่รองเท้าคู่เก่า มักจะสึก ด้านนอกของฝ่าเท้า) น้ำหนักตัวไม่เยอะ (มาตรฐานชายไทย) ประมาณ 61 กิโลกรัม ปกติ วิ่งอาทิตย์ละประมาณ 3-5 ครั้ง อาทิตย์ ละประมาณ 50-70 กิโลเมตร ด้วย Pace เฉลี่ย 5.30-6.00 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง


ผมเคยใส่รองเท้าวิ่งมาแล้วแบบจริงจัง 4 คู่ ได้แก่ Nike Flex 2014, Brooks transence, Asics Nimbus 17 และ คู่สุดท้ายก็คือ Nike Free 4 version 15 จะว่าไป ผมก็เป็นคนใส่รองเท้าค่อนข้างจะพิเรณ นะ เนื่องจากบางคู่เน้นเอาจมูกเท้าลง บางคู่เน้นเอาส้นลง ดังนั้น การรีวิวของผมจะเทียบกับประสบการณ์กับรองเท้ารุ่นเหล่านี้เป็นหลัก


ความทนทาน (เทียบกับราคา) (Str) - 3 เต็ม 5
เอาเป็นเท่าที่ด้วยตา เท่าที่อ่านรีวิวของคนอื่นๆ และใช้มาแล้วประมาณ 1 เดือนกว่า โดยสรุปมันน่าจะทนนะ เนื่องจาก ผ้าที่ใช้ค่อนข้างหนา วัสดุ ค่อนข้างดู สมเป็นตัว Top ตัวหนึ่ง ของ Asics เลยทีเดียว


แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงถึงประมาณ $145 + tax ลองเชคราคาในเวปที่ไทยตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 5,300 บาท ผมคาดหวังว่ามันต้องทนทานในระดับนี้อยู่แล้ว ดังนั้น คงให้คะแนนได้เพียง “สมกับความคาดหวัง”  
การทำความเร็ว (Agi) - 2 เต็ม 5
ถ้าจะใส่วิ่งทำความเร็ว ผมว่ามองผ่านคู่นี้ไปเถอะ เนื่องจาก น้ำหนักที่มากถึงเกือย  400 กรัม (เห้ย เกือบครึ่งกิโลเหมือนกันนะ) น้ำหนักส่วนใหญ่น่าจะมาจากตรงพื้นรองเท้าเป็นหลัก เพราะ ส้นรองเท้า พื้นรองเท้าหนามาก เห็น Asics บอกว่า พื้นรองเท้ารองตั้งหลายชั้น ทั้งพื้นที่เป็น Outsole Midsole ไหนจะเจลอีก ไม่หนักให้ใันรู้ไปสิ


เมื่อเปรียบเทียบกับรองเท้ารุ่นอื่นๆ จะเห็นว่า น้ำหนักต่างกันพอตัวถ้าคิดเป็นเปอร์เซน แต่ถ้าดูเป็นกรับคงไม่มาก อย่างไรก็ตามครับ แม้น้ำหนักต่างกันเพียงไม่มาก ทำให้ก้าวเท้าช้าลงมาเพียงแค่เสี้ยววินาทีก็จริง แต่อย่าลืมครับว่าเนื่องจากการวิ่งมาราทอนเราวิ่งเกือบๆ หมื่นก้าว ดังนั้น การก้าวเท้าช้าย่อมส่งผลต่อเวลารวมอย่างเห็นได้ชัด


อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะ เท่าที่ดูจากการวิ่งของนักวิ่งที่ทำเวลาได้ดีมักจะลงจมูกเท้า แต่ทรงของรองเท้า Asics Nimbus 17 ถูก Design มีให้ gel รองตรงบริเวณจมูกเท้าก็ตาม แต่โดยรวมผมว่ามันเหมาะสำหรับวิ่งลงส้นเท้ามากกว่า ซึ่งตามปกติถ้าผมจะวิ่งทำความเร็ว ผมมักจะลงจมูกเท้า (อันนี้ ผมยอมรับว่าผมไม่รู้จริง)


การป้องกัน (Vit) - 5 เต็ม 5
พื้นรองเท้ารองตั้งหลายชั้น ทั้งพื้นที่เป็น Outsole Midsole ไหนจะเจลอีก ป้องกันไม่ดีก็ให้มันรู้ไปสิ  


Asics เขาโฆษณาเรื่องของ Technology Gel ซึ่งต่างกับ Brand ทั่วๆไปที่เน้นไปที่โฟม อันนี้เป็นจุดขายที่ Asics โฆษณามาตลอด (ไม่รู้ว่าอะไรดีกว่านะ อิอิ ต่างคนต่างความชอบ) โดย รองเท้าคู่นี้อัดเจลไปยัง 2 จุดที่สำคัญก็คือส้นเท้าด้านนอก (ต่างกับ Ascis quantum 360 ที่อัดเจลให้มาทั้งเท้าด้านนอกและเท้าด้านใน)


ดังนั้น จึงเหมาะกับคนที่วิ่งแล้วทิ่งน้ำหนักไปเท้าด้านนอก ซึ่งน่าจะเป็นท่าปกติของการวิ่งนะ (คนที่วิ่งท่าอื่นๆ ควรผ่านรองเท้าคู่นี้ไป ครับ) นอกจากนี้ Asics Nimbus 17 ยังอัดเจลมาให้บริเวณจมูกเท้า (Forefoot) ด้านนอก ดังนั้น คนที่วิ่งแล้วเอาจมูกเท้าลงก็น่าจะยังใช้งานได้ดีครับ  
โดยสรุป มันจะมีอะไรป้องกันได้ดีกว่ารุ่นนี้อีกไหม TT คือป้องกันแบบบ้าพลังมาก ระบบกันกระแทกโหดมาก ถ้าเปรียบเทียบระหว่างรุ่นที่เป็น Minimalist เช่น Nike Free 4 ver 15 หรือ Nike Flex 2014 ที่ผมเคยใส่ อันนี้เห็นแรงกระแทกได้ชัดๆ เลย (ถ้าเอาส้นเท้าลง หรือ กลางเท้าลง) วันต่อมาผมจะปวดเท้าบ้าง แต่ถ้าเป็น Asics คู่นี้ ผมไม่ปวดนะ (วิ่งประมาณ 10-20 กิโลเมตร) ยิ่งตอนที่ไปวิ่งมาราทอนงานแรกมันยิ่งทำให้ผมเห็นได้ชัดเลยว่า วันนั้น ผมเหนื่อยมากๆ ล้าไปทั้งตัว ปวดเมื่อยไปทังตัว ยกเว้นอย่างเดียวที่ผมรู้สึกว่ายังดีอยู่ก็คือ “เข่า”


ลื่น และการทรงตัว  (Dex) - 2 เต็ม 5
ไม่เคยลื่น ขนาดวิ่งในช่วงที่ฝนตก หรือพื้นที่เป็นน้ำแข็ง วิ่งก็ไม่เคยเท้าพลิกนะ แต่นิดหนึ่ง ผมว่าเท้าที่อยู่ในรองเท้ามันไถลนิดหน่อยตอนวิ่ง


ผมใส่ Asics Nimbus 17 ผมรู้สึกว่าตอนวิ่งมันเก้ๆ กังๆ บ้างๆ บางครั้งต้องเกร็ง แต่ผมยังไม่เคยถึงขั้นเท้าพลิกนะ นอกจากนี้ จากการที่ผมใส่รองเท้าที่ป้องกันน้อยมาตลอด เช่น Nike Flex หรือ Nike Free ผมรู้สึกว่ารองเท้ามันสูง มันวางเท้าสบายกว่า


การใส่สบาย (Int) - 3 เต็ม 5
ถ้าไม่ใส่วิ่ง ใส่เดินทั้งวันได้ แต่มันหนักพอสมควร รวมทั้งค่อนข้างร้อน (อันนี้ผมขอไม่ลงความเห็นมาก เพราะผมใส่แค่วิ่ง นานสุดที่ใส่คือ 5 ชั่วโมง ตอนวิ่งมาราทอน ตามที่บอกครับ)


ความสวยงาม และอื่นๆ (Lux) - 2 เต็ม 5
ความเห็นส่วนตัว รวมทั้งอารมล้วน 555+ สำหรับผมโคดไม่ชอบ Design รวมทั้งสีที่ซื้อมา ผมว่าใส่กับชุดอื่นที่ไม่ใช่ชุดวิ่งแล้วมันดูเก่ๆ กังๆ ชอบกล อย่างไรก็ตามครับ ข้อนี้ แล้วแต่ความคิดละกัน


ไม่รู็สิ เมื่อเทียบกับตัวท้อปของรองเท้าประเภทเน้น Support เหมือนกันของญี่ห้ออื่นๆ เช่น Nike air max running 2015 หรือ Brook Glycerin ผมว่า Asics Nimbus 17 ของผมมันไม่ค่อยสวย สีสดๆ ลายแปลกๆ ฮ่า ฮ่า ฮ่า (ความคิดของผมคนเดียวนะ อิอิ แฟนฟันแท้ Asics อย่าด่าผมนะ -/\-)


โดยสรุป:
ถ้าใส่รองเท้าคู่นี้ ไม่มีอะไรทำ Damage คุณได้แน่นอน 555+

อย่างที่บอกครับ รองเท้าคู่นี้เทพในด้านการป้องกันแบบโคดๆ ดังนั้น ถ้าเป็นนักวิ่งเท้าปกติ ที่วิ่งโดยเอาฝ่าเท้าด้านนอกลง วัตถุประสงค์การวิ่งเพื่อสุขภาพ หรือใส่ซ้อมวิ่ง มันเป็นอะไรที่เหมาะมาก ถึงมากที่สุด ผมขอเชียร์ขาดใจ แต่ถ้าหากต้องการทำความเร็ว พวกตะกูลสาย Assassin เน้นทำความเร็ว เน้นวิ่งเป็นบางครั้งบางคราว ผมว่าด้วยน้ำหนัก และอุปกรณ์ป้องกันภายใน อาจจะทำให้ความเร็วของคุณช้าลง

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

ประกาศเป้าหมาย ปี 2016

เป้าหมายที่ชัดเจน

เนื่องจากเข้าปีใหม่ ก็ย่อมต้องมีการตั้งเป้ามหาย การวิ่งของตัวเอง ซึ่ง ผมเคยได้นำเสนอวิธีการตั้งเป้ามหายที่ดีไปแล้ว โดยใช้วิธีการ S.M.A.R.T ถ้าขาดการตั้งเป้าหมายการวิ่งที่ดี ก็เหมือน เราก็เหมือนวิ่งไปเรื่อยๆ ไม่รู้ว่า เราจะซ้อมหนักแค่ไหน ไม่รู็จะเอามาตรฐานอะไรมาอ้างอิง แล้วเราก็ถามคนอื่นๆ ไปทั่วว่าที่เราทำดีพอหรือยัง ซึ่งจะไม่มีใครตอบเราได้

ถ้าขาดการวางเป้าหมายที่แน่ชัด

วันนี้ผมขอนำเสนอการวิ่งที่เป็นเป้าหมายที่ผมวางเอาไว้ว่า ต้องทำให้สำเร็จในปี 2015 ซึ่งเป็นความฝันของผมตั้งแต่เริ่มวิ่ง และผมก็เชื่อว่าเป็นความใฝ่ฝันของเพื่อนๆ นักวิ่งหลายๆ คนด้วยเหมือนกัน ใช้แล้วครับ มันก็คืองาน

Boston Marathon รัฐ Massachusetts ประเทศ สหรัฐอเมริกา นั่นเอง 

(2015 Boston) Boston อยู่ตรงไหนน
เป้าหมายที่ผมวางเอาไว้ ไม่ใช่การเข้าร่วมวิ่งในปีหน้า ซึ่งเป็นไปไม่ได้แล้วครับ เพราะ Boston Marathon ได้ปิดรับสมัคร ตั้งแต่เดือนกันยายน ปีนี้ไปแล้ว (ทั้งที่งานจริงๆ เริ่มเดือน เมษายน วันที่ 18) คิดดูสิครับ ปิดเร็วแค่ไหน 

(2016 Boston marathon) เป้าหมายที่ต้องทำให้ได้ ในปี 2016 
Source: http://www.baa.org/





นอกจากนี้ ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะเข้าร่วมการวิ่งงานนี้ นะครับ นักวิ่งต้องเคยผ่านงงานวิ่งตามที่ Association of International Marathon and Road Race หรือ AIMs รับรอง และ International Association of Athletics Federations  หรือ IAAF รับรองระยะทางการวิ่ง และการเจ้าหน้าที่การแข่งขัน ซึ่งในไทยก็มีแค่ไม่กี่งานนะ เช่น Standard Charter Bangkok marathon, Khon Kaen international marathon และ Laguna Phuket International Marathon (ถ้าจำไม่ผิดมีแค่นี้นะ)

และที่สำคัญต้องทำเวลาได้ตามที่กำหนด!!!
อันนี้แหละครับ เป็นที่มาของเป้าหมายปี 2016 ของผม

ว่าด้วยเวลา

ผมเพื่อนๆ ที่เริ่มวิ่งถามผมว่า วิ่งเร็วเท่าไหร่ ถึงจะดี อันนี้ตอบยากมากๆ ผมก็ไม่รู้ แต่ถ้าถามว่า จะวิ่งเร็วเท่าใด ถึงจะไปโม้กับเพื่อนๆ ได้ว่า เราเป็นนักวิ่งเต็มตัว และสามารถเข้าร่วมการแข่งขันวิ่งมาราทอนได้ (เกื่อบ) ทุกๆ งานบนโลก (ไม่รวม โอลิมปิก เน้ออออันนี้ไม่รู้จริงๆ และคิดว่าคงไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมหรอก ฮ่าาาา)

ก็ควรจะใช้ เวลาของ Boston Marathon เป็นเกณฑ์  

แล้วเวลาเท่าไหร่ละ ฮ่า ฮ่า ฮ่า
4 ชัวโมง? ไม่ใช่ครับ เห้ย มันต้องดุ โหด และ ทารุณ กว่านั้นสิ งั้นจะเป็นงานที่นักวิ่งเกือบทั้งโลกฝั่นฝันอยากจะไปกันเหรอ อย่างแรก ต้องถามก่อน อายุเท่าไหร่? (น้ำหนักไม่ต้องนะ)

Time Qualifier 2014 Boston marathon

ผมเป็นผู้ชาย อายุประมาณ ยี่สิบปลายๆ อยู่ในกลุ่มแรกที่จำเป็นต้องวิ่งให้เร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ก็คือ
3 ชั่วโมง 5 นาที ครับ 

แล้วมาราทอนแรกของผมละ 5 ชั่วโมง 15 นาที 
แสดงว่า ถ้าจะเข้าร่วมการแข่งขันได้ โดยใช้เวลา ดังกล่าว ผมต้องเป็น ผู้หญิงที่มีอายุ มากกว่า 75 ปี 

โอ้วววว...สึส  โหดจริงๆ

ดังนั้ง...

เป้าหมายของปี 2016 คือ เข้า เส้นชัยให้ได้ ภายใน 3 ชั่วโมง 5 นาที เพื่อทำ Boston Qualifier ไปวิ่ง Boston Marathon ให้ได้ในอีก 3-4 ปีครับ (ขึ้นกับว่าเงินพร้อมแค่ไหน อิอิ ผมยังไม่เครียดว่าจะได้กลับมาวิ่งเร็วหรือช้า เนื่องจากจะมาที่ USA อีกครั้งต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูง) 

ใครที่มีฝันเดียวกับผม และจะมาร่วมทำฝันกับผมบ้างครับ
มีเพื่อนวิ่ง เพื่อนแข่ง มันสนุกกว่า!!!